เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
9. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
10. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ่งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้
วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป
ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
อานนท์ บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็
คือธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล 2 คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล 2 คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการ
ฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร
บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล
เพราะบุคคลผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้
เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้
ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล
ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และ
ใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :168 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 6. ตโยธัมมสูตร
อานนท์ บุคคล 10 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษชื่อว่าปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะก็เป็นผู้
ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะในโลก
นี้ก็หามิได้ บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อว่าปุราณะก็
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่า
ปุราณะในโลกนี้ก็หามิได้
อานนท์ บุคคลทั้ง 2 นี้แล เป็นผู้ต่ำกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง อย่างนี้แล
มิคสาลาสูตรที่ 5 จบ

6. ตโยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม 3 ประการ
[76] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึง
รุ่งเรืองในโลก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ชาติ (ความเกิด) 2. ชรา (ความแก่)
3. มรณะ (ความตาย)
ธรรม 3 ประการนี้แล ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าก็ไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
เพราะธรรม 3 ประการนี้ยังมีปรากฏอยู่ในโลก ฉะนั้น ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก
1. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :169 }