เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน1ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาด
ไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้า
พระองค์ว่า
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้

เชิงอรรถ :
1 เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ 1 ข้อ 55 หน้า 42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :164 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น
สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร
เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้เหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่
กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่
หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไร
ขัดขวางได้1
อานนท์ บุคคล 10 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 10 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง
เป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ2
และไม่ได้วิมุตติ3 ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
2. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ

เชิงอรรถ :
1 ข้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด
คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น ไม่ใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือบุคคล
ผู้ปราศจากญาณโดยทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น
(เทียบ องฺ.ฉกฺก. 22/44/334, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/44/125)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 32 ในเล่มนี้
3 ไม่ได้มุตติ หมายถึงไม่ได้อรหัตตผล (องฺ. ทสก.อ. 3/1/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :165 }