เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 4. วัฑฒิสูตร
8. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา
9. การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรม
10. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล เป็นอาหารของธรรม 10 ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
อิฏฐธัมมสูตรที่ 3 จบ

4. วัฑฒิสูตร
ว่าด้วยความเจริญ
[74] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ 10 ประการ ชื่อว่า
เจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่ามีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ และมีปกติรับ
เอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ความเจริญ 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวก
1. เจริญด้วยนาและสวน
2. เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
3. เจริญด้วยบุตรและภรรยา
4. เจริญด้วยทาส กรรมกร และคนใช้
5. เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า
6. เจริญด้วยศรัทธา
7. เจริญด้วยศีล
8. เจริญด้วยสุตะ
9. เจริญด้วยจาคะ
10. เจริญด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :162 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเครื่องเจริญ 10 ประการนี้แล
จึงชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และมีปกติรับเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยทรัพย์
ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโภคสมบัติ มียศ
ญาติมิตร และพระราชาก็ทรงยกย่อง
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
บุคคลนั้น เป็นผู้คงที่ เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
ชื่อว่าเจริญทั้ง 2 ประการในปัจจุบัน
วัฑฒิสูตรที่ 4 จบ

5. มิคสาลาสูตร1
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ามิคสาลา
[75] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร2แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้แล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามท่านดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ฉกฺก. 22/44/334
2 คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระ
อานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือ
ห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง เทียบ (วิ.อ. 1/16/180, ที.ม.อ. 153/143, ม.มู.อ. 1/63/163, ขุ.อุ.อ. 6/65)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :163 }