เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 2. กัณฏกสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุไปไหน กักกฏภิกษุ กฬิมภภิกษุ นิกฏภิกษุ
ปฏิสสหภิกษุไปไหน สาวกผู้เป็นเถระเหล่านั้นไปไหนหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท่าน
พระเถระเหล่านั้นคิดว่า ‘เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัด
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ก็
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดีเราทั้งหลายควรจะเข้าไปยัง
โคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก’ ทีนั้น พระเถระ
เหล่านั้น จึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อ
ตอบให้ชัดเจนพึงตอบดังนั้น เพราะเรากล่าวว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์
ปฏิปักขธรรม 10 ประการนี้ ปฏิปักขธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยินดีในความสงัด
2. การเจริญสุภนิมิต เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เจริญอสุภนิมิต
3. การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย
4. ความใกล้ชิดมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
5. เสียง เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน
6. วิตกวิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน
7. ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน
8. ลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน
9. สัญญาและเวทนา เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
10. ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นปฏิปักขธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :159 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 3. อิฏฐธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด (เธอทั้งหลายจงเป็นผู้
หมดปฏิปักขธรรมอยู่เถิด) เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรม หมดปฏิปักข-
ธรรมอยู่เถิด พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีปฏิปักขธรรม (พระอรหันต์ทั้งหลายหมด
ปฏิปักขธรรม) ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรมและ
หมดปฏิปักขธรรม
กัณฏกสูตรที่ 2 จบ

3. อิฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[73] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. โภคสมบัติ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
2. ผิวพรรณ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
3. ความไม่มีโรค เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
4. ศีล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
5. พรหมจรรย์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
6. มิตร เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
7. ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
8. ปัญญา เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
9. ธรรม1 เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
10. สวรรค์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม 9 (องฺ.ทสก.อ. 3/73-74/359)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :160 }