เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
10. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควร
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ 10 ประการนี้แล
ทุติยกถาวัตถุสูตรที่ 10 จบ
ยมกวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อวิชชาสูตร 2. ตัณหาสูตร
3. นิฏฐังคตสูตร 4. อเวจจัปปสันนสูตร
5. ปฐมสุขสูตร 6. ทุติยสุขสูตร
7. ปฐมนฬกปานสูตร 8. ทุติยนฬกปานสูตร
9. ปฐมกถาวัตถุสูตร 10. ทุติยกถาวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 1. อากังขสูตร
3. อากังขวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
1. อากังขสูตร
ว่าด้วยความหวัง
[71] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร1 มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
1. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่
ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์
หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง2เถิด
2. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่น
ประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
3. หากภิกษุหวังว่า ‘เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด ขอสักการะของชนเหล่านั้น พึงมี

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1,2 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 31 ในเล่มนี้
2 เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง การเรียนกัมมัฏฐาน คือสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ว
เข้าไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดวันตลอดคืน เจริญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน เจริญอธิปัญญาสิกขา
ด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ทสก.อ. 3/71/357, ม.มู.อ. 1/65/169-170)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :156 }