เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 7. ปฐมนฬกปานสูตร
ผู้มีอายุ เมื่อไม่ยินดี ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ เมื่อมีความยินดี สุขนี้เป็นอันพึง
หวังได้ คือ บุคคลผู้มีความยินดี แม้เดินอยู่ ก็ประสพความสุขสำราญ แม้ยืนอยู่ ...
แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้ไปสู่บ้าน ... แม้ไปสู่ป่า ... แม้ไปสู่โคนไม้ ... แม้ไปสู่
เรือนว่าง ... แม้ไปสู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ... ก็ประสพความสุขสำราญ
ผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้”
ทุติยสุขสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมนฬกปานสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นฬกปานนิคม สูตรที่ 1
[67] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนิคมของชาวโกศลชื่อว่านฬกปานะ ประทับอยู่ที่ปลาสวัน
ใกล้นฬกปานนิคมนั้น สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ประทับ
นั่งในวันอุโบสถนั้น ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นหลาย
ราตรีทีเดียว ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ ทรงเรียกท่านพระสารีบุตรมา
ตรัสว่า
“สารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)แล้ว เฉพาะ
เธอเท่านั้นที่จะอธิบายธรรมีกถาให้แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายได้1 เราเมื่อยหลัง จัก
เอนหลัง”
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับ
สั่งให้ปูลาดสังฆาฏิทบ 4 ชั้น บรรทมสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงวาง

เชิงอรรถ :
1 แปลจากประโยคบาลีว่า “ปติภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา” ซึ่งโครงสร้างประโยคเช่นนี้มีปรากฏใน
พระไตรปิฏกหลายเล่ม และแต่ละเล่มก็มีอยู่หลายที่ มีข้อสังเกตว่าประโยคนี้ เป็นประโยคธรรมเนียมมอบ
หมายงานให้แสดงธรรม โดยคำนึงถึง “ความถนัดส่วนบุคคล” เป็นหลัก ในที่นี้ทรงมอบหมายให้ท่านพระ
สารีบุตรแสดง เพราะท่านมีความถนัดในเรื่องนี้ หาใช่เพราะทรงประสงค์จะยกย่องท่านเป็นพิเศษไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :145 }