เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
แม้สติปัฏฐาน 4 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติปัฏฐาน 4 ควรตอบว่า ‘สุจริต 3’
แม้สุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของสุจริต 3 ควรตอบว่า ‘ความสำรวมอินทรีย์’
แม้ความสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไร
เล่าเป็นอาหารของความสำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘สติสัมปชัญญะ’
แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยแยบคาย’
แม้การมนสิการโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยแยบคาย ควรตอบว่า ‘ศรัทธา’
แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของศรัทธา ควรตอบว่า ‘การฟังสัทธรรม’
แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การคบสัตบุรุษ’
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ศรัทธาบริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยแยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์
สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์
สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :136 }