เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การไม่คบสัตบุรุษ’
การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีศรัทธาบริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยไม่แยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ทุจริต 3 บริบูรณ์
ทุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้นิวรณ์ 5 บริบูรณ์
นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
ฯลฯ นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝนตกลงหนัก ๆ
น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้
แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วทำให้
มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้

ว่าด้วยวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย แม้วิชชาและวิมุตติ1 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร อะไรเล่าเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรตอบว่า ‘โพชฌงค์ 7’
แม้โพชฌงค์ 7 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของโพชฌงค์ 7 ควรตอบว่า ‘สติปัฏฐาน 4’

เชิงอรรถ :
1 วิชชาและวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงผลญาณ และสัมปยุตตธรรมที่เหลือ (องฺ.ทสก.อ. 3/61-62/352)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :135 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
แม้สติปัฏฐาน 4 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติปัฏฐาน 4 ควรตอบว่า ‘สุจริต 3’
แม้สุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของสุจริต 3 ควรตอบว่า ‘ความสำรวมอินทรีย์’
แม้ความสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไร
เล่าเป็นอาหารของความสำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘สติสัมปชัญญะ’
แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยแยบคาย’
แม้การมนสิการโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยแยบคาย ควรตอบว่า ‘ศรัทธา’
แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของศรัทธา ควรตอบว่า ‘การฟังสัทธรรม’
แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การคบสัตบุรุษ’
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ศรัทธาบริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยแยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์
สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์
สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :136 }