เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
2. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
1. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[61] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่
ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี ภายหลังจึงมี เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวคำนี้
อย่างนี้ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาที่มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ
แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร1 มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของอวิชชา ควรตอบว่า ‘นิวรณ์ 5’
แม้นิวรณ์ 5 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของนิวรณ์ 5 ควรตอบว่า ‘ทุจริต 3’
แม้ทุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของทุจริต 3 ควรตอบว่า ‘ความไม่สำรวมอินทรีย์’
แม้ความไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่สำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘ความไม่มีสติ-
สัมปชัญญะ’
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยไม่
แยบคาย’
แม้การมนสิการโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยไม่แยบคาย ควรตอบว่า ‘ความไม่มีศรัทธา’
แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรตอบว่า ‘การไม่ฟังสัทธรรม’

เชิงอรรถ :
1 อาหาร ในที่นี้หมายถึงปัจจัยหรือเหตุ (องฺ.ทสก.อ. 3/61-62/352)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :134 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การไม่คบสัตบุรุษ’
การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีศรัทธาบริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยไม่แยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ทุจริต 3 บริบูรณ์
ทุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้นิวรณ์ 5 บริบูรณ์
นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
ฯลฯ นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝนตกลงหนัก ๆ
น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้
แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วทำให้
มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้

ว่าด้วยวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย แม้วิชชาและวิมุตติ1 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร อะไรเล่าเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรตอบว่า ‘โพชฌงค์ 7’
แม้โพชฌงค์ 7 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของโพชฌงค์ 7 ควรตอบว่า ‘สติปัฏฐาน 4’

เชิงอรรถ :
1 วิชชาและวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงผลญาณ และสัมปยุตตธรรมที่เหลือ (องฺ.ทสก.อ. 3/61-62/352)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :135 }