เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ถ้าเธอจะพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา 10 ประการนี้แก่คิริมานนท์ภิกษุ
เป็นไปได้ที่อาพาธของคิริมานนท์ภิกษุนั้นจะระงับไปโดยฉับพลันเพราะได้ฟัง
สัญญา 10 ประการนี้
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา 10 ประการนี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาค เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ถึงที่อยู่ กล่าวสัญญา 10 ประการนี้แก่ท่าน
พระคิริมานนท์ ขณะนั้นเอง อาพาธของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับลงโดย
ฉับพลันเพราะได้ฟังสัญญา 10 ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์ได้หายขาดจาก
อาพาธนั้น
อาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้ อย่างนี้แล
คิริมานันทสูตรที่ 10 จบ
สจิตตวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สจิตตสูตร 2. สารีปุตตสูตร
3. ฐิติสูตร 4. สมถสูตร
5. ปริหานสูตร 6. ปฐมสัญญาสูตร
7. ทุติยสัญญาสูตร 8. มูลกสูตร
9. ปัพพัชชาสูตร 10. คิริมานันทสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :133 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 1. อวิชชาสูตร
2. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
1. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[61] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่
ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี ภายหลังจึงมี เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวคำนี้
อย่างนี้ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาที่มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ
แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร1 มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของอวิชชา ควรตอบว่า ‘นิวรณ์ 5’
แม้นิวรณ์ 5 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของนิวรณ์ 5 ควรตอบว่า ‘ทุจริต 3’
แม้ทุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของทุจริต 3 ควรตอบว่า ‘ความไม่สำรวมอินทรีย์’
แม้ความไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่สำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘ความไม่มีสติ-
สัมปชัญญะ’
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยไม่
แยบคาย’
แม้การมนสิการโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยไม่แยบคาย ควรตอบว่า ‘ความไม่มีศรัทธา’
แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรตอบว่า ‘การไม่ฟังสัทธรรม’

เชิงอรรถ :
1 อาหาร ในที่นี้หมายถึงปัจจัยหรือเหตุ (องฺ.ทสก.อ. 3/61-62/352)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :134 }