เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 10. คิริมานันทสูตร
สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจในสังขารทั้งปวง นี้เรียกว่า
สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา
อานาปานสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์1 ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า2 มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก3

อานาปานสติ 16 ขั้น4
1. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
2. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
3. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
4. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
5. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก

เชิงอรรถ :
1 นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง 2 ข้าง เรียกว่านั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. 1/165/445)
2 ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. 1/165/445)
3 ตามอรรถกถาพระสูตรนี้ อัสสาสะ หมายถึง หายใจเข้า ปัสสาสะ หมายถึงหายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโต-
ปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.ม.อ.2/305/136) ส่วนตามอรรถกถาวินัยกลับกัน
คือ อัสสาสะ หมายถึงหายใจออก ปัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต ปสฺสาโสติ
อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. 1/165/446)
4 ดู ม.ม. 13/141/95-6, ม.อุ. 14/147/130-131, สํ.ม. 19/977/269

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :131 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 10. คิริมานันทสูตร
6. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
7. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
8. สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
9. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
10. สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
11. สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
12. สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
13. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
14. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
15. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
16. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
นี้เรียกว่า อานาปานสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :132 }