เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 8. ฌานสูตร
เสนาสนะอันสงัดแต่ไม่ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง1 ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่
ไม่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ2 ปัญญาวิมุตติ3อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย
อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา 1 มีศีล 1 เป็นพหูสูต 1 เป็นธรรมกถึก 1 เข้าไป
สู่บริษัท 1 แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท 1 ทรงวินัย 1 อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด 1 ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก 1 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน 1
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อ
ให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน4 และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ฌานสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 มีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. 1/66/173)
2 เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต ซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ (องฺ.ทุก.อ.
2/88/62)
3 ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา (องฺ.ทุก.อ.
2/88/62)
4 ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม วจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. 3/8/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :13 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 9. สันตวิโมกขสูตร
9. สันตวิโมกขสูตร
ว่าด้วยสันตวิโมกข์1
[9] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาแต่ไม่มีศีล
เป็นผู้มีศีลแต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึกแต่ไม่
เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่เป็นผู้แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะ
อันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์
ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย2อยู่ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอจึงชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัทแกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้สัมผัส
สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา 1 มีศีล 1 เป็นพหูสูต 1 เป็นธรรมกถึก 1 เข้าไปสู่
บริษัท 1 แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท 1 ทรงวินัย 1 อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด 1 ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย
อยู่ 1 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน 1 เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้น อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌาณที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกกล่าวคือนิวรณ์ 5
และเพระไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/9/320)
2 กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :14 }