เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 5. ปริหานสูตร
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง
2. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ไม่ถึงความเลอะเลือน
3. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏแก่เธอ
4. ภิกษุนั้นย่อมรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล
หากภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงสำเหนียกว่า
“เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน”
ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ภิกษุผู้ฉลาดในวาระจิตของตน
ภิกษุฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราไม่มี
อภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่
พยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราปราศจาก
ถีนมิทธะอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่
ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราข้ามพ้นความ
สงสัยแล้วอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราไม่มักโกรธ
อยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่เศร้าหมองอยู่
โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ปราโมทย์ในธรรม
ภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน
หรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ’ เปรียบเหมือนสตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :121 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 5. ปริหานสูตร
หรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาวมีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์
ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามขจัดธุลี
หรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ ด้วยเหตุนั้นเอง
ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดในตน ภิกษุ
นั้นก็ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมด
ภิกษุนั้นก็ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ พิจารณาเห็นกุศลธรรมบางเหล่าว่ามีในตน พิจารณาเห็น
กุศลธรรมบางเหล่าว่าไม่มีในตน ภิกษุนั้นก็ควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่
พิจารณาเห็นว่ามีในตนแล้ว ทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรม
ที่พิจารณาเห็นว่าไม่มีในตนเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว ทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นว่าไม่มีในตน
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ พิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้
ทั้งหมดว่ามีในตน ภิกษุนั้นก็ควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเลยแล้วทำ
ความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
ปริหานสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :122 }