เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 4. สมถสูตร
บิณฑบาตที่ควรฉัน และที่ไม่ควรฉัน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือ
บิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาบิณฑบาต 2 อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาต
นี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาต
ใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’
บิณฑบาตนี้ควรฉัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่า
มี 2 อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

เสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือเสนาสนะที่
ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาเสนาสนะ 2 อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่
อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป
กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ เสนาสนะนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้
เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่
ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือบ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาบ้านและนิคม 2 อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
บ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :118 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 4. สมถสูตร
ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือบ้านและนิคม
ที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะ
อาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาชนบทและประเทศ 2 อย่างนั้น ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
อยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ ชนบท
และประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและ
ประเทศนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็
กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่
ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

บุคคลที่ควรคบ และที่ไม่ควรคบ
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี 2 ประเภท คือบุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาบุคคล 2 ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศล
ธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บุคคลนี้ไม่ควรคบ บุคคลใด ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บุคคลนี้ควรคบ เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี 2 ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สมถสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :119 }