เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 4. สมถสูตร
ภิกษุนั้นพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ได้ทั้ง
ความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว ทำ
ความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอยและจีวรที่ไม่ควรใช้สอย
แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่
ควรฉัน แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และ
เสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือบ้านและ
นิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและประเทศเรา
ก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่
ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี 2 ประเภท คือบุคคลที่ควรคบ และบุคคล
ที่ไม่ควรคบ

จีวรที่ควรใช้สอย และที่ไม่ควรใช้สอย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาจีวร 2 อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควรใช้สอย จีวรใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควร
ใช้สอย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่า มี 2 อย่าง คือจีวรที่
ควรใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :117 }