เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 3. ฐิติสูตร
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรม
เหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
สารีปุตตสูตรที่ 2 จบ

3. ฐิติสูตร
ว่าด้วยความคงอยู่กับที่ในธรรม
[53] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ไฉนจะสรรเสริญความเสื่อมเล่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญความเจริญ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็น
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ เป็น
อย่างนี้แล
ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรร 3. ฐิติสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็นความคงอยู่
กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างนี้แล
ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เสื่อม เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็นความ
เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม เป็น
อย่างนี้แล
หากภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุพึงสำเหนียก
ว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราเป็นผู้
มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก
หรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือปราศจากถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิต
ฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว
เราเป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
หรือหนอ หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภ
ความเพียร เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่ตั้งมั่น’ เปรียบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :114 }