เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 7. สารีปุตตสูตร
7. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรตอบปัญหาพระอานนท์
[7] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุ
ดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌาน
ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่
ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมี
สัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ที่ป่าอันธวัน เขต
กรุงสาวัตถีนี้แล ณ ที่นั้น ผมได้เข้าสมาธิโดยไม่มีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน
ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน
ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า
เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ผมเป็นผู้มีสัญญา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 8. ฌานสูตร
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ในสมัยนั้น ท่านสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผมว่า ‘ความ
ดับภพเป็นนิพพาน ความดับภพเป็นนิพพาน’ สัญญาอย่างหนึ่งดับไป ผู้มีอายุ
สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผมว่า ‘ความดับภพเป็นนิพพาน ความดับภพเป็น
นิพพาน’ สัญญาอย่างหนึ่งดับไป เปรียบเหมือนเมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่ เปลวไฟ
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น เปลวไฟอย่างหนึ่งดับไปฉะนั้น ผู้มีอายุ ในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญา
ว่า ‘ความดับภพเป็นนิพพาน’
สารีปุตตสูตรที่ 7 จบ

8. ฌานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีฌาน
[8] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล
อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล” เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น
เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็น
พหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก1 เป็นธรรมกถึกแต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย ทรง
วินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน

เชิงอรรถ :
1 ธรรมกถึก หมายถึงผู้กล่าวสอนธรรม ผู้แสดงธรรม หรือนักเทศน์ซี่งจะต้องมีองค์ธรรม 5 ประการ คือ
(1) แสดงธรรมไปโดยลำดับ (2) แสดงอ้างเหตุผล (3) แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (4) ไม่เพ่งอามิส
แสดงธรรม (5) แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก. 22/159/174)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :12 }