เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค 6. สักกสูตร
อยู่ตลอด 100 ปีก็มี 10,000 ปีก็มี 100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล
เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึง 10 เดือน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 9 เดือน ... 8 เดือน ... 7 เดือน ... 6 เดือน ...
5 เดือน ... 4 เดือน ... 3 เดือน ... 2 เดือน ... 1 เดือน ... ครึ่งเดือน พึงเป็นผู้
เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด 100 ปีก็มี 10,000 ปีก็มี 100,000 ปีก็มี
และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติ
ผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึงครึ่งเดือน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 10 คืน 10 วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่
นอนอยู่ตลอด 100 ปีก็มี 10,000 ปีก็มี 100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล
เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึง 10 คืน 10 วัน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 9 คืน 9 วัน ... 8 คืน 8 วัน ... 7 คืน 7 วัน
... 6 คืน 6 วัน ... 5 คืน 5 วัน ... 4 คืน 4 วัน ... 3 คืน 3 วัน ... 2 คืน 2 วัน
... 1 คืน 1 วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด 100 ปีก็มี
10,000 ปีก็มี 100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี
เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ชั่วแล้ว ที่เมื่อชีวิตมีภัยเพราะ
ความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ บางคราวท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่
ประกอบด้วยองค์ 8 แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา
อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เหล่านี้จักพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
สักกสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :102 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค 7. มหาลิสูตร
7. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ
[47] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้
กรรมชั่วเป็นไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาลิ โลภะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว
และให้กรรมชั่วเป็นไป โทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป
โมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป อโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยไม่แยบคาย) เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป
มิจฉาปณิหิตจิต(จิตที่ตั้งไว้ผิด)แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่ว
เป็นไป มหาลิ กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้
กรรมชั่วเป็นไป”
เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิทูลถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี
และให้กรรมดีเป็นไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มหาลิ อโลภะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี
และให้กรรมดีเป็นไป อโทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป
อโมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป โยนิโสมนสิการ(การ
มนสิการโดยแยบคาย) เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป สัมมา-
ปณิหิตจิต(จิตที่ตั้งไว้ถูก)แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป
หากธรรม 10 ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ความประพฤติไม่
สม่ำเสมอคือความประพฤติอธรรม1 หรือความประพฤติสม่ำเสมอคือความ
ประพฤติธรรม2 ก็จะไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลกนี้

เชิงอรรถ :
1 อธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ 10 ประการ (องฺ.ทสก.อ. 3/47/348)
2 ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ (องฺ.ทสก.อ. 3/47/348)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :103 }