เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค 6. สักกสูตร
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
บุคคลนั้น เมื่อหาทรัพย์ได้วันละ 100 กหาปณะ 1,000 กหาปณะ ก็เก็บทรัพย์ที่
ตนได้ไว้ เป็นผู้มีชีวิต 100 ปี จะพึงได้โภคสมบัติกองใหญ่บ้างหรือไม่หนอ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
บุคคลนั้นจะพึงเสวยสุขอย่างเดียวอยู่ตลอดคืนหนึ่ง วันหนึ่ง ครึ่งคืนหรือครึ่งวันอันมี
โภคสมบัตินั้นเป็นเหตุ มีโภคสมบัตินั้นเป็นปัจจัย มีโภคสมบัตินั้นเป็นที่ตั้งได้บ้างหรือ
ไม่หนอ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ว่างเปล่า หลอกลวง1 มีความฉิบหายไป
เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวก
ของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจปฏิบัติตาม
ที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 10 ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด 100
ปีก็มี 10,000 ปีก็มี 100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี
เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง 10 ปี
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 9 ปี ... 8 ปี ... 7 ปี ... 6 ปี ... 5 ปี ... 4 ปี ...
3 ปี ... 2 ปี ... 1 ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด 100 ปีก็มี 10,000
ปีก็มี 100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี
เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง 1 ปี
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 10 เดือน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอน

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ไม่เที่ยง คือมีแล้วก็กลับกลายเป็นไม่มี ว่างเปล่า คือ ปราศจากสาระ หลอกลวง คือ แม้จะปรากฏ
เหมือนเป็นของเที่ยง สวยงาม และเป็นสุข แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ (องฺ.ทสก.อ. 3/46/347)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :101 }