เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 2.ปุริสคติสูตร
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมรู้ชัดวิปปฏิสาร รู้ชัดเหตุเกิด
วิปปฏิสาร รู้ชัดความดับวิปปฏิสาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
วิปปฏิสาร วิปปฏิสารของอริยสาวกนั้นย่อมดับไป เขาย่อมหลุดพ้น
จากชาติ ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ อริยสาวกผู้
ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน
ไม่สะดุ้ง ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อริยสาวกผู้ได้สดับไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่อง
ที่ไม่ควรพยากรณ์
อัพยากตสูตรที่ 1 จบ

2. ปุริสคติสูตร
ว่าด้วยคติของบุรุษ
[55] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคติ1ของบุรุษ 7 ประการ และอนุปาทา-
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คติของบุรุษ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรม2ไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม3จักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี

เชิงอรรถ :
1 คติ ในที่นี้หมายถึงญาณคติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
2 กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพอดีตชาติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
3 กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพต่อไป (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :99 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 2.ปุริสคติสูตร
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ1
ไม่ติดใจในสมภพ2 เห็นทางที่สงบอย่างยิ่ง3 ด้วยปัญญาอันชอบ เธอยัง
มิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละมานานุสัย
(อนุสัยคือความถือตัว)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัย
(อนุสัยคือความติดใจในภพ)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัย
(อนุสัยคืออวิชชา)โดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี4 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ ยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์

เชิงอรรถ :
1 ไม่ติดใจในภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ 5 ในอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
2 ไม่ติตใจในสมภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ 5 ในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ.3/55/190)
3 ทางที่สงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
4 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 16 หน้า 25 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :100 }