เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 9.ทานมหัปผลสูตร
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุง
หากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่
ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราให้ทานและจำแนก
ทานนี้ เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี
เวสสามิตตฤาษี ยมคัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสป-
ฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ1แล้ว ฉะนั้น’ ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจัก
ให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรา
ให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต
ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอเข้าใจเรื่องนั้น
อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่”
“ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน
อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ
โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ มิใช่
ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้
วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้

เชิงอรรถ :
1 มหายัญในที่นี้หมายถึงการตระเตรียมมหาทานซึ่งประกอบไปด้วยอาหารและเภสัชต่าง ๆ มีเนยใส เนยข้น
นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. 3/52/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :91 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 10.นันทมาตาสูตร
หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเอง
ไม่ได้ ไม่ควร’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่า
ฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี
อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษีและภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ
แล้ว’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม
โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา1 เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป
ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา
คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
ทานมหัปผลสูตรที่ 9 จบ

10. นันทมาตาสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา
[53] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลานะ จาริกไปในทักขิณาคีรี
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้นแล ในเวลาใกล้รุ่ง นันทมาตาอุบาสิกา
ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ2ลุกขึ้นสวดปารายนสูตร3เป็นทำนองสรภัญญะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 สัตตกนิบาต ข้อ 44 หน้า 67 ในเล่มนี้
2 ที่มีชื่อว่า เวฬุกัณฏกะ เพราะเป็นเมืองที่ถูกสร้างกำแพงล้อมรอบโดยใช้ไม้ไผ่ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/53/187)
3 ที่ชื่อว่า ปารายนะ เพราะนำไปสู่ฝั่งคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ.3/53/187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :92 }