เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 8.สังโยคสูตร
บุรุษย่อมไม่กำหนด

1. ความเป็นบุรุษภายในตน 2. กิริยาของบุรุษ
3. ท่าทางของบุรุษ 4. ความไว้ตัวของบุรุษ
5. ความพอใจของบุรุษ 6. เสียงของบุรุษ
7. เครื่องประดับของบุรุษ

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น
เขาผู้ไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมไม่กำหนด

1. ความเป็นสตรีภายนอก 2. กิริยาของสตรี
3. ท่าทางของสตรี 4. ความไว้ตัวของสตรี
5. ความพอใจของสตรี 6. เสียงของสตรี
7. เครื่องประดับของสตรี

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น เขาผู้ไม่ติดใจไม่
ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและ
ไม่มุ่งหวังสุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษ ย่อมเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหลาย บุรุษล่วงพ้นความ
เป็นบุรุษไปได้ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็น
อย่างนี้แล
สังโยคสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :88 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 9.ทานมหัปผลสูตร
9. ทานมหัปผลสูตร
ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก
[52] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขต
กรุงจัมปา ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวกรุงจัมปาจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง
ที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคผ่าน
มานานแล้ว ขอให้เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเถิด”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรมา
ในวันอุโบสถเถิด จะได้ฟังธรรมีกถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคแน่นอน” อุบาสก
ชาวกรุงจัมปารับคำแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวกรุงจัมปาได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ต่อจากนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสก
ชาวกรุงจัมปาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้ไหม ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ สารีบุตร ทานชนิดเดียวกันที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่
บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้ว ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :89 }