เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 7.เมถุนสูตร
3. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่สัพยอก เล่นหัว
หัวเราะร่ากับมาตุคาม แต่ยังเพ่งจ้องตามาตุคาม ฯลฯ
4. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่เพ่งจ้องตามาตุคาม
แต่ยังฟังเสียงของมาตุคามผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้
อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง ฯลฯ
5. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ฟังเสียงของมาตุคาม
ผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง
แต่ยังคอยนึกถึงการที่เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม ฯลฯ
6. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่คอยนึกถึงการที่
เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แต่ยังดูคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอตนอยู่ ฯลฯ
7. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ดูคหบดีหรือบุตร
คหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอตนอยู่ แต่ยัง
ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาเป็นเทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล
วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็
ชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่ง
พรหมจรรย์ พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
พราหมณ์ ตราบใด เรายังเห็นเมถุนสังโยค 7 ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในตนที่ยังละไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :84 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 8.สังโยคสูตร
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แต่เมื่อใดเราไม่เห็นเมถุนสังโยค 7 ประการนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เมถุนสูตรที่ 7 จบ

8. สังโยคสูตร
ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง
[51] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย1เรื่องความเกี่ยวข้องและ
ความไม่เกี่ยวข้องแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร
คือ สตรีย่อมกำหนด
1. ความเป็นสตรีภายในตน 2. กิริยาของสตรี
3. ท่าทางของสตรี2 4. ความไว้ตัวของสตรี

เชิงอรรถ :
1 คำว่า บรรยาย ในคำว่า ธรรมบรรยาย นี้แปลจาก ปริยาย ศัพท์ ซึ่งมีความหมาย 3 นัย คือ (1) หมายถึง
เทศนา (ดู ม.มู. 12/205/175, องฺ.ฉกฺก. 22/63/390) (2) หมายถึงวาระ (ดู ม.อุ. 14/298/344)
(3) หมายถึงเหตุ (ดู วิ.มหา. 1/164/95) ในที่นี้หมายถึงเหตุ (วิ.อ. 1/3/126, องฺ.สตฺตก.อ. 3/51/185)
2 ท่าทางของสตรี หมายถึงมรรยาทต่าง ๆ เช่น การนุ่ง การห่ม เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. 3/51/185)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :85 }