เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 7.เมถุนสูตร
บริสุทธิ์ บริบูรณ์’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเรา
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์”1
พราหมณ์ทูลถามว่า “ ท่านพระโคดม อะไรเล่าชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ
ความด่าง ความพร้อยแห่งพรหมจรรย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสอง2 กับมาตุคาม แต่ยังยินดีการ
ลูบไล้ การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็ชื่อว่า
เป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่งพรหมจรรย์
พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
เมถุนสังโยค ย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
2. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสองกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีการลูบไล้
การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม แต่ยัง
สัพยอก3 เล่นหัว4 หัวเราะร่ากับมาตุคาม ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 การที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้มีนัยให้รู้ว่า ‘ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่พระองค์บำเพ็ญเพียรในขณะที่
ยังมีกิเลสอยู่นั้น แม้เพียงแต่ความคิดคำนึงถึงความสุขในราชสมบัติ หรือความพรั่งพร้อมด้วยนางฟ้อนใน
ปราสาทนั้น มิได้เกิดขึ้นแก่พระองค์เลยแม้แต่น้อย’ ซึ่งเป็นพระดำรัสตอบที่สามารถสยบพราหมณ์ได้ ดุจ
การใช้มนตร์จับงูเห่า และดุจการใช้เท้าเหยียบที่คอหอยศัตรู ฉะนั้น (องฺ.สตฺตก.อ. 3/50/185)
2 กิจสองต่อสอง ในที่นี้หมายถึงกิจที่คนสองคนซึ่งมีความรักใคร่กำหนัดหมกมุ่นเหมือนกันทำร่วมกัน เป็น
ชื่อของเมถุนธรรมที่เป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจ
ที่ต้องทำในที่ลับ (วิ.อ. 1/39/231, 55/275, องฺ.สตฺตก.อ. 3/50/185, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/50-51/211)
และดู วิ.มหา. (แปล) 1/39/28, 55/42
3 สัพยอก ในที่นี้หมายถึงพูดเรื่องน่าหัวเราะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/50/185)
4 เล่นหัว ในที่นี้หมายถึงการพูดล้อเล่น (องฺ.สตฺตก.อ. 3/50/185)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :83 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 7.เมถุนสูตร
3. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่สัพยอก เล่นหัว
หัวเราะร่ากับมาตุคาม แต่ยังเพ่งจ้องตามาตุคาม ฯลฯ
4. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่เพ่งจ้องตามาตุคาม
แต่ยังฟังเสียงของมาตุคามผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้
อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง ฯลฯ
5. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ฟังเสียงของมาตุคาม
ผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง
แต่ยังคอยนึกถึงการที่เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม ฯลฯ
6. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่คอยนึกถึงการที่
เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แต่ยังดูคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอตนอยู่ ฯลฯ
7. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ดูคหบดีหรือบุตร
คหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรอตนอยู่ แต่ยัง
ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาเป็นเทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล
วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็
ชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่ง
พรหมจรรย์ พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
พราหมณ์ ตราบใด เรายังเห็นเมถุนสังโยค 7 ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในตนที่ยังละไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :84 }