เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 6.ทุติยสัญญาสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาใน
ความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการ
ไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรง เหมือน
เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา เราเจริญดีแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (6)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตต-
สัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ1ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตภายนอกทั้งปวง ก้าวล่วงมานะ2 สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว3
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจไม่ปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ไม่ก้าวล่วงมานะ ไม่สงบ ไม่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของ
เรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น

เชิงอรรถ :
1 อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา
มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา
มานะ หมายถึงมานะ 9 ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/48/184) และดู ขุ.ม. (แปล) 29/178/508, อภิ.วิ.
(แปล) 35/962/616-617
2 ก้าวล่วงมานะ แปลจากบาลีว่า ‘วิธาสมติกฺกนฺตํ’ วิธ ศัพท์ มีความหมาย 3 นัย คือ (1) หมายถึงส่วน
(ดู อภิ.สงฺ. 34/584/168) (2) หมายถึงประการ (ดู สํ.ส. 15/95/61) (3) หมายถึงมานะ (ดู อภิ.วิ. 35/
120/448) ในที่นี้หมายถึงมานะ 3 ประการ คือ (1) ความถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (2) ความถือตัวว่า
เสมอเขา (3) ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/49/211)
3 หลุดพ้นดีแล้ว หมายถึงหลุดพ้นด้วยวิมุตติ 5 ประการ มีตทังควิมุตติ เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. 3/48-49/
184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :81 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 7.เมถุนสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะ ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ก้าวล่วงมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเรา
ถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (7)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ 6 จบ

7. เมถุนสูตร
ว่าด้วยเมถุนสังโยค
[50] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดมยังปฏิญญาว่าตนเป็นพรหมจารีอยู่หรือ”1
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า ‘เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เชิงอรรถ :
1 สาเหตุที่พราหมณ์ทูลถามเช่นนี้ เพราะคิดว่า ‘พราหมณ์ เมื่อจะเรียนเวทยังต้องประพฤติพรหมจรรย์ใช้
ระยะเวลาถึง 48 ปีเลย แต่พระสมณโคดมเคยอยู่ครองเรือน อภิรมย์ในปราสาท 3 หลัง ท่ามกลางเหล่า
นางฟ้อนนางรำ แล้วไฉนบัดนี้จึงมาพูดว่าตนประพฤติพรหมจรรย์’ ทั้งนี้เพราะยึดติดรูปแบบกฎเกณฑ์
และเวลาการประพฤติพรหมจรรย์ตามลัทธิอื่น ดู ข้อ 42-43 หน้า 62-66 ในเล่มนี้ประกอบ(องฺ.สตฺตก.
อ. 3/50/184-185)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :82 }