เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 6.ทุติยสัญญาสูตร
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามลาภ
สักการะและชื่อเสียง ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า
‘อนิจจสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ
งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภสักการะและชื่อเสียง อุเบกขาหรือความเป็น
ของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจจสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (5)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญา
อยู่โดยมาก สัญญาในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอัน
ร้ายแรงเหมือนเพชฌาตผู้เงื้อดาบขึ้น
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาในความ
เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ
ความเพียร และในการไม่พิจารณาไม่ปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรงเหมือนเพชฌฆาต
ผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :80 }