เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 5.สังขิตตธนสูตร
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา
ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้
เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
วิตถตพลสูตรที่ 4 จบ

5. สังขิตตธนสูตร
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยย่อ
[5] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้
ทรัพย์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาธนะ(ทรัพย์คือศรัทธา) 2. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
3. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) 4. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
5. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) 6. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
7. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ 7 ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :8 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม1
สังขิตตธนสูตรที่ 5 จบ

6. วิตถตธนสูตร2
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยพิสดาร
[6] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้
ทรัพย์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาธนะ 2. สีลธนะ
3. หิริธนะ 4. โอตตัปปธนะ
5. สุตธนะ 6. จาคธนะ
7. ปัญญาธนะ

สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ3 เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า
สัทธาธนะ

เชิงอรรถ :
1 การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/52/349)
และ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/52/87
2 ดู ที.ปา. 11/330/221, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/47/76
3 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 29 (อักขณสูตร) หน้า 276 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :9 }