เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 4.ทุติยอัคคิสูตร
ทักขิเณยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ
และโสรัจจะ ฝึกตนได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้สงบได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้ดับเย็นได้เป็นหนึ่ง
นี้เรียกว่า ทักขิเนยยัคคิ ฉะนั้น ทักขิเณยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
พราหมณ์ อัคคิ 3 ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
ส่วนกัฏฐัคคินี้ ต้องจุดตามกาลอันควร ต้องคอยดูตามกาลอันควร ต้องคอย
ดับตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ข้าพระองค์จะปล่อยโคผู้ 500 ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อย
ลูกโคผู้ 500 ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคตัวเมีย 500 ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
จะปล่อยแพะ 500 ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแกะ 500 ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
พวกมันจะกินหญ้าสด ดื่มน้ำเย็นและรับลมเย็น”

ทุติยอัคคิสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 5.มหายัญญวรรค 6.ทุติยสัญญาสูตร
5. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา1 สูตรที่ 1
[48] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มาก2แล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ3 มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ 2
[49] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา 2. มรณสัญญา
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123
2 เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้นและตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก. อ. 1/54-55/63, 418/448, 453/469
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. 1/600-611/480)
3 อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/48-49/184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :75 }