เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 4.วิตถตพลสูตร
โดยชอบ ฯลฯ1 เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า2 เป็นพระ
ผู้มีพระภาค‘3 นี้เรียกว่า สัทธาพละ
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร4 เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง5 มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 29 (อักขณสูตร) หน้า 276 ในเล่มนี้
2 ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
3 ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (1) ทรงมีโชค (2) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (3) ทรงประกอบด้วยภคธรรม
6 ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ
และความเพียร) (4) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (5) ทรงเสพอริยธรรม (6) ทรงคายตัณหาในภพทั้งสาม
(7) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (8) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (9) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย 4 เป็นต้น
(ตามนัย วิ.อ.1/1/103-118, สารตฺถ.ฏีกา 1/270, วิสุทธิ. 1/124-145/215-232)
4 ปรารภความเพียรในที่นี้หมายถึงทำความเพียรทางกายและทางใจไม่ย่อหย่อน (องฺ.เอกก.อ. 1/394/440,
องฺ.ปญฺจก.อ. 3/2/1)
5 มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/2/1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :6 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 4.วิตถตพลสูตร
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน1อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ2 บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิพละ
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ3 ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ 7 ประการนี้แล
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ 7 ประการนี้ คือ
สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ
ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

เชิงอรรถ :
1 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน (เนปกฺก) เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นอุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/14/4)
2 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 53 (นันทมาตาสูตร) หน้า 95 ในเล่มนี้
3 ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ แยกอธิบายดังนี้ คือ
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา
ความเกิดและความดับ ในที่นี้หมายถึงความเกิดและความดับแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ
อันเป็นอริยะ ในที่นี้หมายถึงบริสุทธิ์อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการ
ข่มไว้) และด้วยสมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) (องฺ.ปญฺจก.อ.3/2/2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :7 }