เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 8.ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
5. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
6. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
7. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งนิมิตใน
ธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ1 ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำ
และขาว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำให้
แจ้งปฏิสัมภิทา 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ 2
[39] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 7 ประการ จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสมภิทา 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
1. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
2. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายในตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
3. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอกตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’

เชิงอรรถ :
1 นิมิตในธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ หมายถึงเหตุในธรรมที่เป็นอุปการะและที่ไม่เป็นอุปการะ
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :59 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 9.ปฐมวสสูตร
4. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
5. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
6. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
7. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งจิตในธรรม
ที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำและขาว
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสัมภิทา 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ทุติยปฏิสัมภิทาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ 1
[40] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ย่อมทำจิตไว้ใน
อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
2. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ1
3. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้2
4. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ3
5. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ4

เชิงอรรถ :
1 ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/
109) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/24/455
2 ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
3 ฉลาดในการออกจากสมาธิ หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
4 ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :60 }