เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 7.ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
มิตรเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง
เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น
แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
ทุติยมิตตสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ 1
[38] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา1 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
2. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายใน2 ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
3. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก3 ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’
4. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป

เชิงอรรถ :
1 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/718-731/459-465,746-747/475,800/513
2 จิตท้อแท้ภายใน ในที่นี้หมายถึงจิตที่ตกอยู่ในถีนมิทธะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)
3 จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก ในที่นี้หมายถึงจิตที่ฟุ้งซ่านไปในกามคุณ 5 ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :58 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 8.ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
5. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
6. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
7. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งนิมิตใน
ธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ1 ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำ
และขาว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำให้
แจ้งปฏิสัมภิทา 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ 2
[39] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 7 ประการ จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสมภิทา 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
1. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
2. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายในตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
3. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอกตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’

เชิงอรรถ :
1 นิมิตในธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ หมายถึงเหตุในธรรมที่เป็นอุปการะและที่ไม่เป็นอุปการะ
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :59 }