เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 6.ทุติยมิตตสูตร
6. ทุติยมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ 2
[37] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ 7 ประการ เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
องค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ1 2. เป็นที่เคารพ
3. เป็นที่ยกย่อง 4. เป็นนักพูด2
5. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ3 6. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้4
7. ไม่ชักนำในอฐานะ5

ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ 7 ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม

เชิงอรรถ :
1 เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร 8 ประการ คือ (1) มีศรัทธา คือ เชื่อการ
ตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (2) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของ
สัตว์ทั้งหลาย (3) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (4) มีจาคะ คือ
ปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (5) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (6) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (7) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน
(8) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่
เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่
เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/37-43/203)
2 เป็นนักพูด ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. 3/37/179)
3 อดทนต่อถ้อยคำ ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. 3/37/179)
4 ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/37/179)
5 ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/37/203)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 7.ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
มิตรเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง
เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น
แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
ทุติยมิตตสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ 1
[38] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา1 4 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
2. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายใน2 ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
3. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก3 ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’
4. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป

เชิงอรรถ :
1 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/718-731/459-465,746-747/475,800/513
2 จิตท้อแท้ภายใน ในที่นี้หมายถึงจิตที่ตกอยู่ในถีนมิทธะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)
3 จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก ในที่นี้หมายถึงจิตที่ฟุ้งซ่านไปในกามคุณ 5 ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/38/179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :58 }