เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[93] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (1)
[94] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ปฐมฌาน 2. ทุติยฌาน
3. ตติยฌาน 4. จตุตถฌาน
5. อากาสานัญจายตฌาน 6. วิญญาณัญจายตนฌาน
7. อากิญจัญญายตนฌาน 8. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
9. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (2)
[95-112] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :563 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ (3-20)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
[113-432] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีตัวเสมอ)
... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มายา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(21-340)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล
ราคเปยยาล จบ
นวกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :564 }