เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.อิทธิปาทวรรค 10.เจตโสวินิพันธสูตร
10. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[92] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ1
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง
ผูกใจ 5 ประการนี้แล
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร2(สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
5 ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ 10 จบ
อิทธิปาทวรรคที่ 4 จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน 4 และอิทธิบาท 4 เหมือนสติปัฏฐาน 4)

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 72 (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า 556 ในเล่มนี้
2 ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท-
สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ
วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. 1/398/445)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :562 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[93] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (1)
[94] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ปฐมฌาน 2. ทุติยฌาน
3. ตติยฌาน 4. จตุตถฌาน
5. อากาสานัญจายตฌาน 6. วิญญาณัญจายตนฌาน
7. อากิญจัญญายตนฌาน 8. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
9. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (2)
[95-112] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 9 ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :563 }