เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.อิทธิปาทวรรค 10.เจตโสวินิพันธสูตร
10. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[92] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ1
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง
ผูกใจ 5 ประการนี้แล
อิทธิบาท 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร2(สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
5 ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ 10 จบ
อิทธิปาทวรรคที่ 4 จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน 4 และอิทธิบาท 4 เหมือนสติปัฏฐาน 4)

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 72 (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า 556 ในเล่มนี้
2 ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท-
สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ
วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. 1/398/445)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :562 }