เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 7.มัจฉริยสูตร
6. คติสูตร
ว่าด้วยคติ
[68] ภิกษุทั้งหลาย คติ 5 ประการนี้
คติ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. นิรยะ (นรก) 2. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
3. เปตติวิสัย (แดนเปรต) 4. มนุษย์
5. เทวดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละคติ 5 ประการ
นี้แล
ฯลฯ
คติสูตรที่ 6 จบ

7. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[69] ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ (ความตระหนี่) 5 ประการนี้
มัจฉริยะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) 2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) 4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละมัจฉริยะ 5
ประการนี้แล
ฯลฯ
มัจฉริยสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :553 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 8.อุทธัมภาคิยสูตร
8. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์1
[70] ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) 5 ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
2. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
3. มานะ (ความถือตัว)
4. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
5. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละอุทธัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ฯลฯ

อุทธัมภาคิยสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/315/208, สํ.ม. 19/180/56, องฺ.ทสก. (แปล) 24/13/21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :554 }