เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 5. โอรัมภาคิยสูตร
5. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[67] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
2. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
3. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
4. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
5. พยาบาท (ความคิดร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :552 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 7.มัจฉริยสูตร
6. คติสูตร
ว่าด้วยคติ
[68] ภิกษุทั้งหลาย คติ 5 ประการนี้
คติ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. นิรยะ (นรก) 2. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
3. เปตติวิสัย (แดนเปรต) 4. มนุษย์
5. เทวดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละคติ 5 ประการ
นี้แล
ฯลฯ
คติสูตรที่ 6 จบ

7. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[69] ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ (ความตระหนี่) 5 ประการนี้
มัจฉริยะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) 2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) 4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละมัจฉริยะ 5
ประการนี้แล
ฯลฯ
มัจฉริยสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :553 }