เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 4.อุปาทานักขันธสูตร
4. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[66] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์1 (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) 5
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละอุปาทานขันธ์
5 ประการนี้แล
ฯลฯ

อุปาทานักขันธสูตรที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 สัตตกนิบาต ข้อ 56 (ติสสพรหมสูตร) หน้า 104 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :551 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 5. โอรัมภาคิยสูตร
5. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[67] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
2. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
3. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
4. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
5. พยาบาท (ความคิดร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการนี้แล
ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :552 }