เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 3.กามคุณสูตร
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เพื่อละนิวรณ์ 5 ประการ นี้แล
นีวรณสูตรที่ 2 จบ

3. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[65] ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ1 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ เพื่อละกามคุณ 5 ประการ
นี้แล
ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 นวกนิบาต ข้อ 20 หน้า 470 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :550 }