เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.เขมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ราคะ 2. โทสะ
3. โมหะ 4. โกธะ
5. อุปนาหะ 6. มักขะ
7. ปลาสะ 8. อิสสา
9. มัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 9 ประการนี้ได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ 11 จบ
เขมวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. เขมสูตร 2. เขมัปปัตตสูตร
3. อมตสูตร 4. อมตัปปัตตสูตร
5. อภยสูตร 6. อภยัปปัตตสูตร
7. ปัสสัทธิสูตร 8. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
9. นิโรธสูตร 10. อนุปุพพนิโรธสูตร
11. อภัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :547 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.สติปัฏฐานวรรค 1.สิกขาทุพพัลยสูตร
2. สติปัฏฐานวรรค
หมวดว่าด้วยสติปัฏฐาน
1. สิกขาทุพพัลยสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา1
[63] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา 5 ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การฆ่าสัตว์ 2. การลักทรัพย์
3. การประพฤติผิดในกาม 4. การพูดเท็จ
5. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา
5 ประการนี้
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
1 คำว่า เหตุท้อแท้ในสิกขา แยกอธิบายได้ดังนี้ คือ (1) เหตุท้อแท้ หมายถึงเหตุให้เบื่อหน่ายในการ
ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ การล่วงละเมิดศีล 5 (2) สิกขา หมายถึงสิกขา 3 ประการ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และในสิกขา 3 นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา (เทียบ วิ.มหา.
(แปล) 1/45-54/33-42)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :548 }