เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 4.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
3. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
4. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
5. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
6. ความเป็นผู้ว่าง่าย
7. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 7 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหาย
ไป ณ ที่นั้นแล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ
ในพระศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มี
จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร
2. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ
3. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
5. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
6. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :54 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 4.เทวตาวรรค 4.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
7. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ
เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา
ให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร
2. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ
3. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ
4. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
5. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
6. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ
7. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้เถิด
ทุติยโสวจัสสตาสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :55 }