เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.สามัญญวรรค 5.สันทิฏฐิกธัมมสูตร
คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า ‘อุภโตภาควิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
อุภโตภาควิมุตตสูตรที่ 4 จบ

5. สันทิฏฐิกธัมมสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกธรรม
[46] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
ธรรม1 สันทิฏฐิกธรรม’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
สันทิฏฐิกธรรม”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสันทิฏฐิกธรรม
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ2
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกธรรม โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกธัมมสูตรที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 สันทิฏฐิกธรรม หมายถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง (องฺ.นวก.อ. 3/46-51/316)
2 ดูความเต็มเทียบกับข้อ 43 (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :539 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.สามัญญวรรค 7.นิพพานสูตร
6. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกนิพพาน
[47] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
นิพพาน สันทิฏฐิกนิพพาน’ ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน”1
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกนิพพานสูตรที่ 6 จบ

7. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[48] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิพพาน
นิพพาน’
ฯลฯ
นิพพานสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 สันทิฏฐิกนิพพาน หมายถึงนิพพานที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง นิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.
นวก.อ. 3/46-51/316)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :540 }