เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.สามัญญวรรค 3.ปัญญาวิมุตตสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (5-8)
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และ
อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว” (9)
กายสักขีสูตรที่ 2 จบ

3. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[44] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”1
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ2

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 สัตตกนิบาต ข้อ 14 (ปุคคลสูตร) หน้า 20 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มเทียบกับข้อ 43 (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :537 }