เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เราล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
ยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความ
กดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อ
นั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไป
ได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลาย
ของเราได้ถึงความหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :531 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อานนท์ เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนี้ เรายังเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้
ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนี้ เราเข้าก็ได้ ออกก็ได้ ทั้งโดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
ตปุสสสูตรที่ 10 จบ
มหาวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อนุปุพพวิหารสูตร 2. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
3. นิพพานสุขสูตร 4. คาวีอุปมาสูตร
5. ฌานสูตร 6. อานันทสูตร
7. โลกายติกสูตร 8. เทวาสุรสังคามสูตร
9. นาคสูตร 10. ตปุสสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :532 }