เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ถ้าเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยรูป ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากาสานัญจายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานเรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :528 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า
‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
อากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :529 }