เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’
เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘ติยฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในปีติเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น
จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในปีติแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในปีติแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์
ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
ตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เพราะปีติจางคลายไป เราจึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ
ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เราจึง
มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :526 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอุเบกขาและสุข เรายังไม่ได้เห็น
และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข เรายังไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความ
ดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในรูปทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้
ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :527 }