เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
10. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[41] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่อว่า
อุรุเวลกัปปะ แคว้นมัลละ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิคมชื่ออุรุเวลกัปปะเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงรออยู่ที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวัน
เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปถึงป่ามหาวันแล้ว จึงประทับนั่งพัก
ผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้นแล ตปุสสคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระ
อานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์
ผู้เจริญ พวกกระผมเป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม
บันเทิงในกาม เนกขัมมะ1จึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้
ทราบมาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในเนกขัมมะ หลุดพ้น2 เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี มีเหตุแห่งถ้อยคำที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้
มาเถิด คหบดี เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูล


เชิงอรรถ :
1เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงการบรรพชา (องฺ.นวก.อ. 3/41/314)
2หลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก (องฺ.นวก.อ. 3/41/314)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :523 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 10.ตปุสสสูตร
เนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค จักทรงจำเนื้อความตามที่พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบ
แก่พวกเรา” ตปุสสคหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคหบดีนี้ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิง
ในกาม เนกขัมมะจึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกาม
เป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ทราบ
มาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
เนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์
แม้เราเองก่อนจะตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั่นแล ได้มีความดำริดังนี้ว่า
‘เนกขัมมะเป็นความดี ความสงบเป็นความดี’ จิตของเรานั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เรานั้นจึง
มีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในกามทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก และอานิสงส์
ในเนกขัมมะเรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :524 }