เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 7.โลกายติกสูตร
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
พราหมณ์ กามคุณ 5 ประการนี้แล เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว
อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :517 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 8.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานอยู่ เราก็เรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้”
โลกายติกสูตรที่ 7 จบ

8. เทวาสุรสังคามสูตร
ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร
[39] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล
พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับ
พวกอสูรเป็นครั้งที่ 2’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ 2 แล้ว แม้ครั้งที่ 2
พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไป
ทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ 3’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ 3 แล้ว แม้ครั้งที่ 3 พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังเทพบุรี ก็แลพวกเทวดาที่อยู่ในเทพบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ พวกเราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกอสูรจะทำอะไรเรา
ไม่ได้’ แม้พวกอสูรก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกเทวดาได้มีเครื่องป้องกันตน
จากความขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :518 }