เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 6.อานันทสูตร
โสตะ (หู) ชื่อว่าจักเป็นโสตะนั้นนั่นเอง คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้เสียงเหล่านั้น
ฆานะ (จมูก) ชื่อว่าจักเป็นฆานะนั้นนั่นเอง คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้กลิ่นเหล่านั้น
ชิวหา (ลิ้น) ชื่อว่าจักเป็นชิวหานั้นนั่นเอง คือ รสเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรสเหล่านั้น
กาย ชื่อว่าจักเป็นกายนั้นนั่นเอง คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้โผฏฐัพพะเหล่านั้น”
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี1ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ คนผู้มีสัญญาเท่านั้น หรือว่าคนไม่มีสัญญา ไม่รับรู้
อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ คนมีสัญญานั้นก็ไม่รับรู้อายตนะได้ หรือ
คนไม่มีสัญญาก็ไม่รับรู้อายตนะนั้นได้”
ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ คนผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่รับรู้อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่
รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น

เชิงอรรถ :
1 พระอุทายี ในที่นี้คือพระกาฬุทายีเถระ (องฺ.นวก.อ. 3/37/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :514 }