เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 6.อานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธ
ก็มีอยู่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ 2 ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน
ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าว
อายตนะ 2 ประการนี้ไว้โดยชอบ
ฌานสูตรที่ 5 จบ

6. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[37] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ1 เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความ
เศร้าโศก) และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม2 เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
คือ จักษุ (ตา) ชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นนั่นเอง คือ รูปเหล่านั้นก็จักไม่รับรู้
อายตนะนั้น และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้รูปเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ มีความหมายดังนี้ คำว่า ที่คับแคบ มีความหมาย 2 นัย คือ นัยที่ 1
หมายถึงที่คับแคบสำหรับปุถุชนผู้ครองเรือน ได้แก่ กามคุณ 5 นัยที่ 2 หมายถึงที่คับแคบสำหรับผู้
บำเพ็ญฌาน ได้แก่ นิวรณ์ 5 เป็นต้น คำว่า วิธีบรรลุช่องว่าง หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ
ได้แก่ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 สัญญาเวทยิตนิโรธ 1 และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน
เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ 5 จตุตถฌานปลอดจากสุขและทุกข์ ดู ที.ม. 10/288/183, ที.ม.อ.
2/288/255, องฺ.นวก.ฏีกา 3/37/369 ประกอบ
2 ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. 19/24/15, สํ.ม.อ. 3/21-30/195)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :513 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 6.อานันทสูตร
โสตะ (หู) ชื่อว่าจักเป็นโสตะนั้นนั่นเอง คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้เสียงเหล่านั้น
ฆานะ (จมูก) ชื่อว่าจักเป็นฆานะนั้นนั่นเอง คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้กลิ่นเหล่านั้น
ชิวหา (ลิ้น) ชื่อว่าจักเป็นชิวหานั้นนั่นเอง คือ รสเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรสเหล่านั้น
กาย ชื่อว่าจักเป็นกายนั้นนั่นเอง คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้โผฏฐัพพะเหล่านั้น”
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี1ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ คนผู้มีสัญญาเท่านั้น หรือว่าคนไม่มีสัญญา ไม่รับรู้
อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ คนมีสัญญานั้นก็ไม่รับรู้อายตนะได้ หรือ
คนไม่มีสัญญาก็ไม่รับรู้อายตนะนั้นได้”
ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ คนผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่รับรู้อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่
รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น

เชิงอรรถ :
1 พระอุทายี ในที่นี้คือพระกาฬุทายีเถระ (องฺ.นวก.อ. 3/37/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :514 }